สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 เมษายน 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง            จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยเดือนเมษายน 2567 ผลผลิต
ออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.054 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนพฤษภาคม 2567 อีก 0.015 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.06 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.47 ร้อยละ 9.83 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนเมษายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.233 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 35.81 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2567 อีก 1.375 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 22.04 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,932 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,180 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,224 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,795 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.29
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน   
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 19,530 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,222 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 839 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,509 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.62 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 713 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 597 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,649 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน 578 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,018 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.29 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 631 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 594 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,540 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 589 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,418 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 122 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.2630 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม รายงานว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 (มกราคม - มีนาคม) เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 2.1 ล้านตัน มูลค่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (มูลค่า 50,768 ล้านบาท)  ซึ่งมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยมีฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38 ของส่วนแบ่งตลาด รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย จีน กานา มาเลเซีย และสิงคโปร์ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม ได้เชิญชวนกลุ่มผู้ประกอบการส่งออกข้าวในประเทศให้มี       การกระจายตลาดและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ข้าวเวียดนามมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น
ปัจจุบันราคาข้าวเวียดนามปรับลดลง เนื่องจากอุปทานข้าวในตลาดมีปริมาณมากขึ้นจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ ส่งผลให้ราคาข้าวขาว 5% ปรับลดลงเป็นตันละ 580 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 21,033 บาท) จากตันละ 590 - 595 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 21,395 - 21,576 บาท) เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน 2567 โดยวงการค้าข้าวคาดว่าการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูหนาว - ฤดูใบไม้ผลิใกล้จะสิ้นสุดแล้ว และคาดว่าหลังจากนี้ภาวะราคาข้าวจะมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น
ที่มา สำนักข่าวซินหัว และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.2630 บาท
2) อินเดีย
ราคาส่งออกข้าวของอินเดียปรับลดลงอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ลดลง โดยราคาข้าวนึ่ง 5% ตันละ 540 - 548 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ19,582 - 19,872 บาท) ลดลงจากตันละ 550 - 558 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 19,945 - 20,235 บาท) เมื่อช่วง    ต้นเดือนเมษายน 2567 ซึ่งที่ผ่านมาข้าวอินเดียเคยปรับราคาขึ้นถึงระดับสูงสุดที่ตันละ 560 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 20,307 บาท) เนื่องจากกรมศุลกากรเปลี่ยนวิธีการคํานวณภาษีส่งออกใหม่ในอัตราร้อยละ 20 จึงส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวอินเดียปรับสูงขึ้น
กรมการค้าต่างประเทศอินเดียได้ออกประกาศฉบับที่ 01/2566 ลงวันที่ 2 เมษายน 2567 เรื่องการส่งออกข้าว Kala Namak พิกัดศุลกากร 1006 30 90 (non-basmati white rice) ซึ่งประกาศฉบับดังกล่าว ได้ระบุมาตรการและเงื่อนไข โดยสรุปดังนี้ ภายใต้อำนาจที่ได้รับจากพระราชบัญญัติการค้าต่างประเทศ (การพัฒนาและการควบคุม) พ.ศ. 2535 พร้อมด้วยนโยบายการค้าต่างประเทศ พ.ศ. 2566 ได้อนุญาตให้ส่งออกข้าวพันธุ์ Kala Namak ปริมาณ 1,000 ตัน ผ่านด่านศุลกากรที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออก จำนวน 6 ด่าน ได้แก่ (1) ด่าน Varanasi Air Cargo รัฐอุตตรประเทศ (2) ด่าน JNCH รัฐมหาราษฏระ (3) ด่าน CH Kandla รัฐคุชราต (4) ด่าน LCS Nepalgunj Road (5) ด่าน LCS Sonauli และ (6) ด่าน LCS Barhni โดยประกาศฯ ได้กําหนดให้ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาดการเกษตรและการค้าต่างประเทศ (The Director of Agriculture Marketing & Foreign Trade) เมืองลัคเนา รัฐอุตตรประเทศ เป็นผู้มีอำนาจในการลงนามรับรองการส่งออกข้าวพันธุ์ Kala Namak โดยมาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออํานวยความสะดวก         ในกระบวนการส่งออกเท่านั้น แต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการค้าต่างประเทศ ทั้งนี้ ข้าวพันธุ์ Kala Namak เป็นข้าวขาวพันธุ์พิเศษ ที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติมีพื้นที่ปลูกในรัฐอุตตรประเทศ และเป็นข้าวขาวพันธุ์แรกที่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการห้ามส่งออก ซึ่งการออกประกาศฯ ดังกล่าว อาจทำให้เกษตรกรทั่วประเทศที่ต้องการปลูกข้าวพันธุ์ดีเกิดความสนใจ และสามารถส่งออกข้าวดังกล่าวได้ตามปกติ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.2630 บาท
3) ฟิลิปปินส์ - เวียดนาม
สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ ระบุว่า ปัจจุบันรัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังพยายามลดการพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากเวียดนามเป็นหลัก โดยให้เน้นการนำเข้าแบบกระจายไปยังประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นๆ ซึ่งได้ชี้แจ้งให้กระทรวง หน่วยงานกำกับดูแล และภาคธุรกิจในเวียดนามทราบแล้ว
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ฟิลิปปินส์มีการผลิตข้าว
แต่ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและพฤติกรรมของเกษตรกร โดยในช่วงที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์มีข้าวในสต็อกประมาณ 19-20 ล้านตันข้าวเปลือก (ประมาณ 12-13 ล้านตันข้าวสาร) ซึ่งข้อได้เปรียบของข้าวเวียดนามในตลาดฟิลิปปินส์ คือ ผู้ประกอบการส่งออกข้าวของเวียดนามจำนวนมากมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ยาวนานกับผู้นำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ ทำให้มีความไว้วางใจระหว่างกัน โดยข้าวของเวียดนามมีลักษณะตรงตามรสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค จึงสามารถตอบสนอง  ความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ สำหรับราคาข้าวเวียดนามอยู่ในระดับปานกลาง ทำให้มีศักยภาพในการแข่งขันได้ นอกจากนี้ อุปทานข้าวเวียดนามมีเสถียรภาพทั้งในด้านราคาและปริมาณที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนำเข้าในแต่ละปีของฟิลิปปินส์ได้ ประกอบกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเวียดนาม    ที่มีความสะดวกในการขนส่งข้าวทางเรือไปยังฟิลิปปินส์ อีกทั้งเวียดนามยังใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าทวิภาคีและพหุภาคีที่ทั้งสองฝ่ายมีร่วมกัน ในขณะที่พันธมิตรนอกอาเซียน เช่น อินเดีย และปากีสถาน ไม่มีข้อตกลงดังกล่าว
 ปัจจุบันความต้องการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ยังอยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าในปี 2567 จะนำเข้าประมาณ 3.5-3.8 ล้านตัน ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของเวียดนามมาโดยตลอด ทั้งนี้ เพื่อให้เวียดนาม   ยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาดข้าวในฟิลิปปินส์ ผู้ประกอบการส่งออกข้าวเวียดนามจำเป็นต้องมีการเตรียมการที่ดีและ มีกลยุทธ์ในการแข่งขัน เช่น การลงทุนด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียง การขยายโอกาสหาคู่ค้าและผู้นำเข้ารายใหม่ โดยผู้ประกอบการข้าวเวียดนามจำเป็นต้องร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Trade: MoIT) สถานทูตเวียดนาม และสำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนามในฟิลิปปินส์ เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวเวียดนาม นอกจากนี้ เวียดนามจำเป็นต้องรักษาคุณภาพข้าว รวมทั้งการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพข้าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวของเวียดนามสู่ตลาดฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม จะพิจารณาการส่งออกข้าวไปยังตลาดอื่นๆ ด้วย
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.18 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 287.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,407.00 บาท/ตัน)  เพิ่มขึ้นจากตันละ 283.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,291.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และเพิ่มขึ้น  ในรูปของเงินบาทตันละ 116.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 432.00 เซนต์ (6,244.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 433.00 เซนต์ (6,264.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 20.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.21 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ
โดยเดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.13 ล้านตัน (ร้อยละ 7.94 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.712 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังปรับลดลง แต่ราคาหัวมันสำปะหลังสดยังอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.70 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.91 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 7.22
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.98
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.02
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.03 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 19.10 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.37
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 243.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,900 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 245.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,960 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.68
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 569.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,810 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจากตันละ 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,930 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.58


 


ปาล์มน้ำมัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
           - ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
            - กลุ่มที่ปรึกษาด้านตลาดเกษตร (GCMA) รายงานว่า จนถึงขณะนี้ประเทศเม็กซิโกผลิตน้ำตาลได้ 4.746 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.16 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเน้นย้ำเพิ่มเติมว่าพื้นที่ร้อยละ 70 ของเม็กซิโกประสบปัญหาภัยแล้ง ซึ่งส่งผลให้ราคาขายส่งน้ำตาลของเม็กซิโกอยู่ที่ 75
ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ50 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.11 โดย GCMA คาดการณ์ว่า เม็กซิโกน่าจะมีการนำเข้าน้ำตาลจำนวน 435,000 ตัน และในปี 2566/2567 และคาดว่าจะมีการส่งออกน้ำตาลจำนวน 615,335 ตัน ในขณะเดียวกัน โรงงาน San Luis Plan Mill ได้ปิดหีบเมื่อวันที่
8 เมษายน 2567 หลังจากหีบอ้อยทั้งสิ้น 770,000 ตัน ซึ่งเป็นจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณการหีบอ้อยปกติ
            - ประธานบริษัท Renuka Sugar รายงานว่า ในปี 2566/2567 ประเทศอินเดียน่าจะผลิตน้ำตาลได้มากกว่า 32 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก และกล่าวเสริมว่า รัฐบาลอินเดียจะต้องดำเนินการตรวจสอบให้แน่ใจว่าราคาน้ำตาลภายในประเทศยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำก่อนถึงช่วงการเลือกตั้ง
ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์รายอื่นๆ เตือนว่า ข้อจำกัดในการผลิตเอทานอลของรัฐบาลอินเดีย และแนวโน้มที่จะมีการอนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลกำลังส่งผลเสียต่อโรงงานน้ำตาล ด้านแหล่งข่าวของประเทศอินเดีย กล่าวว่า รัฐบาลอินเดียจะมีการอนุญาตให้นำน้ำตาลไปผลิตเอทานอลเพิ่มอีก 800,000 ตัน ภายในปีนี้
เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตน้ำตาลดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเสริมว่ารัฐบาลยังคงไม่มีการอนุมัติให้ดำเนินการส่งออกน้ำตาลในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 20.81 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,170.72 เซนต์ (15.78 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,181.00 เซนต์ (15.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.87
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.35 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 331.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 46.99 เซนต์ (38.00 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 48.55 เซนต์ (39.36 บาท/กก.)   ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.21


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.24 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.73
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 964.67 ดอลลาร์สหรัฐ (34.98 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 963.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 825.67 ดอลลาร์สหรัฐ (29.94 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 825.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,352.33 ดอลลาร์สหรัฐ (49.04 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,351.60 ดอลลาร์สหรัฐ (49.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 964.67 ดอลลาร์สหรัฐ (34.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 963.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 848.33 ดอลลาร์สหรัฐ (30.76 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 847.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.16 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 46.82 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.87 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.58 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม
 
 

 
ปศุสัตว์

 

 
ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
 

 
ประมง

 

 
ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี